ที่มา?

Origin of Biosafety Cabinets

งานค้นคว้า วิจัย ในห้องแลบเกี่ยวข้องกับสารเคมี และสิ่งมีชีวิตต่างๆ (Microorganisms) บ่อยครั้งสามารถสร้างอันตรายได้ เช่น เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และสารเคมี (Biohazardous Agents / Material)   เพื่อให้สามารถทำงานกับเชื้อโรคหรือสารเคมีได้ปลอดภัย ตู้ปลอดเชื้อ (ฺBSC) จึงถือกำเนิด และถูกพัฒนากลายเป็นอุปกรณ์ในห้องแลบที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล คลีนิค รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ยาและอิเล็กทรอนิกส์

ตู้ปลอดเชื้อคืออะไร?

What is biological safety cabinets?

ตู้ปลอดเชื้อ (Biological Safety Cabinet, BSC) หรือบางครั้งเรียกว่า “ตู้ไบโอฮาซาร์ด” คืออุปกรณ์ห้องแลบที่ถูกออกแบบเพื่อใช้งานกับสิ่งที่เป็นอันตราย (Biohazardous Agents / Material) เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย รวมถึงสารเคมีบางอย่าง โดยอาศัยการกรองของ HEPA Filter ให้ได้อากาศสะอาด (Clean Particle-Free Air) ในพื้นทื่ทำงาน โดยทั่วไปตู้ปลอดเชื้อประเภทนี้มีความสามารถในการป้องกันขณะใช้งานดังนี้
 
  1. ป้องกันผู้ปฏิบัติงาน (Personnel Protection)
  2. ป้องกันงานหรือผลิตภัณฑ์จากการปนเปื้อน (Cross Contamination) (Product Protection)
  3. ป้องกันสภาพแวดล้อมภายนอก จากงานหรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายภายในพื้นที่ทำงาน (Environment Protection)

มีกี่ประเภท?

Type of BSCs

ตู้ปลอดเชื้อ (BSC) สามารถแบ่ง 3 ประเภท ตามขอบข่ายการใช้งานและความสามารถในการป้องกัน ดังนี้

  1. Biosafety Cabinet Class I
  2. Biosafety Cabinet Class II
  3. Biosafety Cabinet Class III

 

BSC Class I

 

  1. อากาศภายนอกถูกดูดผ่านพื้นที่ทำงานภายในเครื่อง และกรองด้วย HEPA Filter ที่อยู่ด้านบนแล้วจึงปล่อยออกภายนอก 
  2. ผู้ใช้ได้รับการป้องกัน เนื่องจากอากาศถูกดูดเข้าเครื่อง ทำให้สิ่งอันตรายไม่สามารถวิ่งสวนทางออกมาทำอันตรายได้
  3. การทำงานเหมือนตู้ดูดควัน (Fume Hood) แต่แตกต่างที่ตู้ปลอดเชื้อมีการกรองด้วย HEPA Filter (โดยปกติจะไม่มีการติด HEPA Filter ในตู้ดูดควัน)
  4. สำหรับงาน Biosafety Level 1, 2 และ 3

 

BSC Class II

 

  1. อากาศภายนอกถูกดูดผ่านรูตระแกรงด้านหน้า (Front Perforation) โดยไม่ผ่านพื้นที่ทำงานเข้าไปด้านหลังและถูกกรองด้วยHEPA Filter เป็นอากาศสะอาด (Clean Particle-Free Air) เป่าสู่พื้นที่ทำงาน ทำให้งานที่กำลังทำถูกป้องกันจากสิ่งปนเปื้อนภายนอก 
  2. ทิศทางอากาศเป็นแนวดิ่ง วิ่งผ่านจากบนลงล่าง (Vertical Unidirectional Airflow)
  3. อากาศผ่านพื้นที่ทำงาน แยกเป็นสองส่วนไปที่รูตระแกรงด้านหน้าและหลัง (Front and Rear Air Grills) ไม่มีส่วนใดเล็ดรอดออกมาทำอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
  4. เหมาะสำหรับงาน Biosafety Level 1, 2 และ 3

 

BSC Class III

 

  1. เหมาะกับงานที่เกี่ยวข้องกับเชื้อที่เป็นอันตรายมากที่สุด โดยมีถุงมือป้องกันระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับผลิตภัณฑ์โดยตรง (Physical Barrier) 
  2. แรงดันภายในพื้นที่ทำงานจะอยู่ในสภาพ Negative Pressure เพื่อปกป้องการแพร่กระจายของงานออกมาภายนอก
  3. มีการใช้ HEPA Filter สองแผ่น ต่อแบบอนุกรม เพื่อเพิ่มความสามารถในการกรองและป้องกันสิ่งอันตรายอาจเล็ดรอดสู่ภายนอก
  4. เหมาะสำหรับงานที่เกี่ยวข้องในระดับ Biosafety Level 1, 2, 3 โดยเฉพาะระดับ 4

อะไรคือ Biosafety Level?

Biosafety Level 1, 2, 3, 4

Biosafety Level 1-4 เป็นระดับความปลอดภัยที่ CDC (Centers for Disease Control and Prevention) และ NIH (National Institutes of Health) ของประเทศอเมริกา กำหนดให้ใช้กับงานในห้องปฏิบัติการต่างๆ 

  1. Biosafety Level 1

ว่าด้วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต (Microorganisms) ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานใดๆทั้งสิ้น 

  1. Biosafety Level 2

ว่าด้วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต (Microorganisms) ที่สามารถก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้ เช่น ไวรัส Hepatitis B, HIV หรือ Salmonella เป็นต้น

  1. Biosafety Level 3

ว่าด้วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต (Microorganisms) ที่สามารถก่อให้เกิดโรคหรืออันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน และถ่ายทอดต่อกันทางระบบหายใจ รวมทั้งทำให้เสียชีวิตได้ เช่น Mycobacterium Tuberculosis, St. Louis Encephalitis Virus และ Coxiella Burnetti เป็นต้น

จำเป็นต้องทำใน BSC Class I หรือ II เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

  1. Biosafety Level 4

ถือเป็นงานในห้องปฏิบัติการที่อันตรายและต้องการความระมัดระวังมากที่สุด เนื่องจากเชื้อโรคเหล่านี้สามารถทำให้เสียชีวิตได้ รวมทั้งก่อให้เกิดการระบาดผ่านทางอากาศได้

จำเป็นต้องทำใน BSC Class III เท่านั้น รวมไปถึงการสวมใส่ Air-Supplied Positive-Pressure Personnel Suit ด้วย

งานกับ BSC ที่เหมาะสม?

Proper BSC for BSL

BSC Class Biosafety Level Application
Class I 1, 2, 3 Low to moderate risk biological agents
Class II 1, 2, 3

Low to moderate risk biological agents

Class III 1, 2, 3, 4

Low to high risk biological agents