ตู้ปลอดเชื้อ (Laminar Flow Clean Bench): อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางด้านจุลชีววิทยา (Microbiological Labs, QA/QC) งานเตรียมยาปราศจากเชื้อ (Pharma, เภสัชกรรม) งานด้านคลินิก รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ ที่ต้องการป้องกันปัญหา Cross Contamination ระหว่างขั้นตอนการเขี่ยเชื้อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) งานเลี้ยงตัวอ่อน (IVF) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้งานเพื่อป้องกันฝุ่น (Particulates) ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างการผลิตด้วย
ในประเทศไทยอาจเรียกว่า ตู้ปลอดเชื้อ, ตู้เขี่ยเชื้อ, ตู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, ตู้ลามินาร์, ตู้ Laminar Flow, ตู้ Hood
- ตู้ปลอดเชื้อ (Laminar Flow Clean Bench) สำหรับงานทางด้าน Life Science และ Electronics
- สำหรับป้องกันผลิตภัณฑ์ จากปัญหาปนเปื้อน (Cross Contamination) ระหว่างการทำงาน
- ประเภทตั้งโต๊ะ (Table Top / Bench Top) / ระบบกระจกเป็นแบบบานเลื่อนขึ้น-ลงในแนวดิ่ง
- แผงกรอง HEPA (หรือ ULPA) ที่ได้มาตรฐาน EN 1822
- แผงกรอง HEPA ด้านจ่ายอากาศเข้าและออกภายในตัวเครื่อง ชนิดประสิทธิภาพการกรองละเอียดระดับ 99.99% ที่ขนาดอนุภาค 0.3 ไมครอน (H13) (หรือระดับสูงกว่านั้นเช่น H14, U15 หากต้องการ)
- ระบบห้องลมภายในเครื่อง ออกแบบพิเศษ เพื่อการกระจายลมที่สม่ำเสมอ (Dynamic air plenum)
- พัดลมอุตสาหกรรม ชนิด Maintenance Free ไม่ต้องดูแลเพิ่มเติม และประหยัดไฟ
- แผงควบคุมประเภท Hard Switch คงทน ตลอดอายุการใช้งาน
- ปุ่มตัดไฟฟ้าและการทำงานของเครื่อง กรณีมีเหตุฉุกเฉิน (Emergency switch)
- หลอด UV ภายในพื้นที่ทำงาน สำหรับการฆ่าเชื้อก่อนและหลังใช้งาน
- หลอด UV บริเวณแผงกรอง HEPA สำหรับการฆ่าเชื้อโรคที่สะสมบนแผงกรอง
- ระบบตั้งเวลาปิดอัติโนมัติสำหรับ UV ทั้ง 2 ตำแหน่ง (UV Timer)
- ระบบ UVGI พิเศษ สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับเชื้ออันตราย หรือต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยระหว่างการทำงานสูงสุด (Option)
- กระจกนิรภัยชนิด Tempered Glass สามารถป้องกันแสง UV ได้
- มาตรวัดแรงดัน “Dywer” (Pressure gage)