ตู้ปลอดเชื้อ (Biosafety Cabinet, BSC): อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางด้านจุลชีววิทยา (Microbiological Labs, QA/QC) งานเตรียมยาปราศจากเชื้อ (Pharma, เภสัชกรรม) งานด้านคลินิก รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ ที่ต้องการความปลอดภัยขั้นสูง โดยมักจะเกี่ยวข้องกับเชื้ออันตรายต่างๆ ระหว่างขั้นตอนการเขี่ยเชื้อ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue Culture) งานย้อมสี AFB (TB) งานเลี้ยงตัวอ่อน (IVF) เป็นต้น
ในประเทศไทยอาจเรียกว่า ตู้ย้อมสี, ตู้ปลอดเชื้อ, ตู้ BSC, ตู้ Biosafety Cabinet, ตู้เขี่ยเชื้อ, ตู้ไบโอฮาซาร์ด, ตู้ Biohazard, ตู้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, ตู้ลามินาร์, ตู้ Laminar Flow, ตู้ Hood
- ตู้ชีวนิรภัย (Biosafety cabinet) class I
- ชนิดตั้งโต๊ะ สำหรับติดตั้งครอบซิงค์ล้างมือที่มีอยู่แล้ว / หรือชนิดมีซิงค์สำเร็จรูปในตัว (option เสริม)
- สำหรับงานย้อมสี Smear and Staining เชื้อ AFB, TB (Tuberculosis) โดยตรง เพื่อป้องกันผู้ใช้งาน และสิ่งแวดล้อม (Personnel and environment protection)
- ออกแบบอ้างอิงข้อกำหนดและแนะนำตามมาตรฐาน NSF49
- แผงกรอง HEPA (หรือ ULPA) ที่ได้มาตรฐาน EN 1822
- แผงกรอง HEPA ด้านจ่ายอากาศเข้าและออกภายในตัวเครื่อง ชนิดประสิทธิภาพการกรองละเอียดระดับ 99.99% ที่ขนาดอนุภาค 0.3 ไมครอน (H13) (หรือระดับสูงกว่านั้นเช่น H14, U15 หากต้องการ)
- ระบบห้องลมภายในเครื่อง ออกแบบพิเศษ เพื่อการกระจายลมที่สม่ำเสมอ (Dynamic air plenum)
- พัดลมอุตสาหกรรม ชนิด Maintenance Free ไม่ต้องดูแลเพิ่มเติม และประหยัดไฟ
- แผงควบคุมประเภท Hard Switch คงทน ตลอดอายุการใช้งาน
- ปุ่มตัดไฟฟ้าและการทำงานของเครื่อง กรณีมีเหตุฉุกเฉิน (Emergency switch)
- หลอด UV ภายในพื้นที่ทำงาน สำหรับการฆ่าเชื้อก่อนและหลังใช้งาน
- หลอด UV บริเวณแผงกรอง HEPA สำหรับการฆ่าเชื้อโรคที่สะสมบนแผงกรอง
- ระบบตั้งเวลาปิดอัติโนมัติสำหรับ UV ทั้ง 2 ตำแหน่ง (UV Timer)
- ระบบ UVGI พิเศษ สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับเชื้ออันตราย หรือต้องการเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยระหว่างการทำงานสูงสุด (Option)
- กระจกนิรภัยชนิด Tempered Glass สามารถป้องกันแสง UV ได้
- มาตรวัดแรงดัน “Dywer” (Pressure gage)